ร่างพระราชบัญญัติเอ็นจีโอ
มีนัยสำคัญมากกว่าเรื่องของเอ็นจีโอ
และไม่ได้สร้างความโปร่งใส
มีหลายประเด็นที่น่ากังวลใน
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
—
#ThaiNGOLaw #NoNGOBillTH
#NGOsForThePeople
BREAKING NEWS
|
BREAKING NEWS |
เหตุใดร่างพ.ร.บ. เอ็นจีโอ จึงเป็นปัญหา
หากร่างพ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.นี้จะทำให้:
เสรีภาพส่วนบุคคลถูกจำกัด
จำกัดและขัดขวางการลงทุนและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ
งานบริการสาธารณะที่จำเป็นหยุดชะงักจากการแทรกแซงองค์กรภาคประชาสังคม
งานที่มีรายได้ดีจะน้อยลง
คนไทยหลายๆ คนใช้ชีวิตยากขึ้น
งบประมาณ (ที่มาจากเงินภาษีของพวกเรา) จะถูกใช้อย่างไร้ประโยชน์ไปกับการตรวจสอบควบคุมที่ซ้ำซ้อน
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร 1,867 แห่งในประเทศไทยคิดว่าร่างกฎหมายนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวล
ที่ผ่านมา เอ็นจีโอ ทำอะไรบ้าง
ช่วยเหลือคนที่อดอยาก
มูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแนนซ์ ได้ส่งอาหารกว่า 14,796,000 มื้อแก่กว่า 600 ชุมชนทั่วประเทศไทยตั้งแต่ปี 2559
ช่วยเหลือคนจน
มูลนิธิรักษ์ไทย ได้ช่วยคนไทยกว่า 752,000 คนในการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจและมีชีวิตที่ปราศจากความรุนแรง โดยเฉพาะผู้หญิง
อนุรักษ์สัตว์ป่า
มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือและดูแลช้างเอเชียกว่า 1,500 เชือก
ให้คำปรึกษา
องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ให้คำปรึกษาและการบริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้หญิงและเด็กกำพร้าในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา
องค์กร The Karen Hilltribes Trust ได้ช่วยให้เยาวชน 17,693 คนสามารถเข้าถึงการศึกษา และช่วยให้เกษตรกร 18,901 คนเข้าถึงการชลประทานที่ดีและทำมาหากินได้อย่างมั่นคง
นี่คือวิธีที่คุณจะสามารถช่วยได้!
แสดงความคิดเห็นบน Facebook ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
เพื่อให้รัฐบาลไทยรู้ว่าคุณไม่สนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินี้
สร้างมีมให้รัฐบาลไทย
ใช้โปรแกรมสร้างมีมฟรีเพื่อสร้างมีมต่อต้านร่างพ.ร.บ. NGO จากนั้นโพสต์มีมที่ Facebook ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือส่งอีเมลถึงรัฐบาลไทย และแชร์มีมบนโซเชียลมีเดีย
หากคุณไม่ต้องการสร้างมีมเอง ให้ใช้มีมนี้:
ระดมพลอาสาสมัคร พนักงานองค์กร และทุกๆ คน ร่วมส่งอีเมลไปถล่มรัฐบาล
ตอนนี้รัฐบาลไทยได้ขยายเวลารับฟังความคิดเห็นจากประชาชนไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2565
หากองค์กรของคุณเคยส่งอีเมลให้รัฐบาลแล้ว สิ่งที่ทำได้ในระดับปัจเจกบุคคลคือการช่วยกันบอกต่อให้อาสาสมัคร พนักงานในองค์กร รวมถึง เพื่อนๆ และคนใกล้ชิดในครอบครัวของคุณช่วยกันส่งอีเมลไปถล่มรัฐบาลอีก!
-
เรียน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ:
ฉันไม่สนับสนุนการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร (ร่างพ.ร.บ. NGO)
เรียน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ:
ฉันให้ความสำคัญกับงานของ NGOs, CSO และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอื่นๆ ที่ดำเนินงานในประเทศไทย และไม่สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร ที่จะขัดขวางการทำงานที่สำคัญนี้ โปรดทบทวนการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัตินี้
เรียน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ:
ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร จะทำให้การลงทุนและความช่วยเหลือระหว่างประเทศลดน้อยลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อคนไทย ฉันไม่สนับสนุนร่างพ.ร.บ. นี้
เรียน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ:
ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร จะทำให้ภาคประชาสังคมทำงานไม่ได้ และทำให้ชีวิตคนไทยจำนวนมากใช้ชีวิตได้ยากลำบากมากขึ้น เพราะคนไทยจำนวนมากต้องพึ่งพา NGO ในการเลี้ยงดูครอบครัว เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และหางานทำ ฉันไม่สนับสนุนร่างพ.ร.บ. นี้
คลิกปุ่มสีแดงเพื่อส่งอีเมลที่เราได้ร่างไว้แล้ว หรือส่งอีเมลด้วยข้อความของคุณเอง ไปที่ [email protected]
แชร์คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย
เราได้สร้าง ชุดเครื่องมือดิจิทัล ที่คุณสามารถใช้เพื่อสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. นี้ ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย คุณสามารถปรับเปลี่ยนคอนเทนต์ในแบบที่คุณชอบได้
อย่าลืมว่าคุณไม่จำเป็นต้องวิพากษ์วิจารณ์กฎหมาย
เพียงแค่แชร์ความเห็นของคุณในเชิงสนับสนุนเอ็นจีโอในเชิงบวก ก็ช่วยพวกเราได้แล้ว
ที่สำคัญอย่าลืมใส่แฮชแท็กนี้ด้วย:
#ThaiNGOLaw #NoNGOBillTH #NGOsForThePeople
แชร์ความเห็นของคุณให้เรารู้
ขอบคุณทุกคนที่สละเวลาอ่านคอนเทนต์เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. เอ็นจีโอ ฉบับนี้ คุณมีความเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้?
หากคุณอยากลุกขึ้นมาทำอะไรที่ตรงเป้ามากขึ้น ส่งความคิดเห็นของคุณโดยตรงไปยังรัฐบาลไทยได้ที่นี่
ความเห็นของภาคประชาสังคมต่อ พ.ร.บ. เอ็นจีโอ
“[กฎหมายฉบับนี้] จะสร้างความเสียหายแก่ประเทศในสายตาของประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งจะมองประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่ไม่เคารพหลักสิทธิมนุษยชน ไม่มีนักลงทุนคนไหนที่จะอยากลงทุนในประเทศที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน"
—นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, Bangkok Post
“บางส่วนของร่างกฎหมายเป็นอะไรที่ไม่สมเหตุสมผล การกำหนดข้อห้ามในการกระทำการที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม คำเหล่านี้คลุมเครือมากจนในทางปฏิบัติอาจหมายความว่างานใดๆ ของ NGO อาจถูกตีความว่าเป็นอาชญากรได้”
—พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม, Newsweek
“ปัจจุบันมีองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศประมาณ 86 แห่งและองค์กรในท้องถิ่นมากกว่า 25,000 แห่งในประเทศ ตรงกันข้ามกับการรับรู้ของสาธารณชน ทางการไทยมีกฎหมายหลายฉบับที่ควบคุมเอ็นจีโอเหล่านี้ รวมถึงกฎหมายหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ส่วนการตรวจสอบการเงินก็มีกฎหมายป้องกันการฟอกเงินตรวจสอบเงินบริจาคอยู่แล้ว”
“สังคมของเราควรจัดให้มีการโต้วาทีเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนที่นี่ สังคมไทยต้องไม่ลืมว่าเอ็นจีโอเป็นบารอมิเตอร์หนึ่งของเสรีภาพและประชาธิปไตยในประเทศอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เสรีภาพของพวกเขาก็คือเสรีภาพของเราเช่นกัน”
“ร่างพ.ร.บ. เอ็นจีโอ เป็นเครื่องมือของรัฐในการควบคุมองค์กรของประชาชนด้วยการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิในความเป็นส่วนตัว”
— ไพโรจน์ พลเพชรม, สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน, ข่าวสดภาคภาษาอังกฤษ
“ในอีกมุมมองหนึ่ง เอ็นจีโอถือเป็นศูนย์รวมของเสรีภาพในการสมาคม ซึ่งเกิดจากกลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์ร่วมกัน นี่เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน”
— ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์, ศาสตราภิชานประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บางกอกโพสต์
ฉันช่วยได้อย่างไร
ร่างพรบ. ฉบับนี้เปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับเราในการส่งเสียงเพื่อสนับสนุนเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในความเป็นส่วนตัว ดูสิ่งที่คุณสามารถทำได้ทั้งหมดในกล่องเครื่องมือนี้.