พ.ร.บ. เอ็นจีโอ ของประเทศไทย: คุกคามเสรีภาพคนไทย
คุณเคยได้ยินเกี่ยวกับร่างพรบ. เอ็นจีโอไหม
คุณอาจจะได้ยินมาว่า ร่างพรบ. เอ็นจีโอ (ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน) มีขึ้นเพื่อสร้างความโปร่งใสในภาคองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลและการควบคุมก็จริง แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้วกลับพบว่า ร่างพรบ. ฉบับนี้มีเป้าหมายกว้างกว่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นไปในทางที่ดี
หากร่างพรบ. ฉบับนี้ผ่าน กฎหมายจะ
พรากเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออก การชุมชน และการสมาคมของพวกเรา
ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยหลายคนแย่ลงที่ต้องพึ่งพาเอ็นจีโอในการเลี้ยงดูครอบครัว เข้าถึงการรักษาพยาบาล และหางานทำ
ผลักไสการลงทุนและความช่วยเหลือระหว่างประเทศออกไป และทำลายท่อน้ำเลี้ยงสำหรับนักกิจกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่หนีจากรัฐบาลที่โหดเหี้ยม
งานที่เงินดีจะลดลง เพราะองค์กรหลายพันองค์กรจะทำงานและจ้างงานคนไทยได้ยากขึ้น
ใช้เงินภาษีของเราอย่างฟุ่มเฟือยไปรับการตรวจสอบเอ็นจีโอซ้ำซาก การตั้งคณะกรรมการบังคับใช้กฎหมาย และทรัพยากรตำรวจ
เมื่อพิจารณาร่างพรบ. อย่างละเอียด
ปัญหาใหญ่ของร่างพรบ. นี้คือความคลุมเครือทางภาษา การใช้ภาษาที่มีความเป็นอัตวิสัยสูงส่งผลให้การกระทำเกือบทุกอย่างถูกถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย มาตราด้านล่างนี้กำหนดให้เอ็นจีโอต้องไม่กระทบ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” หรือ “ความเป็นอยู่โดยปกติสุข” มิเช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าปรับเป็นจำนวน 10,000 บาทต่อวัน
มาตรา ๒๐ องค์กรไม่แสวงหากำไรต้องไม่ดำเนินงานในลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมถึงความมั่นคงของรัฐด้านเศรษฐกิจหรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (๒) กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม (๓) กระทบต่อประโยชน์สาธารณะรวมทั้งความปลอดภัยสาธารณะ (๔) เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมาย (๕) เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือกระทบต่อความเป็นอยู่โดยปกติสุขของ บุคคลอื่น มาตรา ๒๖ องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดไม่ยุติการดำเนินงานตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๑ ซึ่งให้นำความในมาตรา ๒๐ วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ร่างกฎหมายยังป้องกันไม่ให้องค์กรที่ช่วยเหลือชุมชนของเราเข้าถึงแหล่งทุนที่จำเป็นต่อการทำงาน ข้อห้ามและข้อกำหนดเกี่ยวกับการรายงานข้อมูลทางการเงินที่มาจากนอกประเทศไทยขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนั้น รัฐบาลยังกีดกันแหล่งเงินทุนที่จำเป็นสำหรับองค์กรที่ทำงานช่วยเหลือคนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
มาตรา ๒๑ องค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งใดที่ได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินบริจาคจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งชื่อแหล่งเงินทุนต่างประเทศ บัญชีธนาคารที่จะรับเงิน จำนวนเงินที่จะได้รับ และวัตถุประสงค์ของ การนำเงินไปใช้จ่าย ต่อนายทะเบียน (๒) ต้องรับเงินผ่านบัญชีของธนาคารตามที่องค์กรไม่แสวงหากำไรแจ้งไว้ต่อนายทะเบียน (๓) ต้องใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศเฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนตาม (๑) (๔) ต้องไม่ใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมในลักษณะการแสวงหาอำนาจรัฐ หรือเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมือง
ข้อกำหนดดังกล่าวจะนำไปสู่การสูญเสียความเป็นส่วนตัวและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการสมาคม อันเป็นสิทธิของพวกเราทุกคนและองค์กรในการรวมกลุ่ม แสดงความคิดเห็น และสร้างประโยชน์แก่ชุมชน สิทธินี้ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
มาตรา 19 เพื่อประโยชน์แห่งความโปร่งใสและให้ประชาชนได้รับรู้กิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร ให้องค์กรไม่แสวงหากำไรมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อขององค์กร วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีการดำเนินงาน แหล่งที่มาของเงินทุน รายชื่อผู้รับผิดชอบดำเนินงาน โดยให้หน่วยงานของรัฐและบุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยง่าย
อ่านร่างพรบ. ฉบับเต็มเป็นภาษาไทยและอังกฤษ หรืออ่านบทวิเคราะห์เชิงลึกทางกฎหมายโดย International Center for Not-For-Profit Law
ฉันช่วยได้อย่างไร
ร่างพรบ. ฉบับนี้เปิดรับฟังความคิดเห็นจนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับเราในการส่งเสียงเพื่อสนับสนุนเสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในความเป็นส่วนตัว ดูสิ่งที่คุณสามารถทำได้ทั้งหมดในกล่องเครื่องมือนี้.